เปิดไทม์ไลน์ มาตรการผ่อนคลาย โควิด-19 หลังจากประกา่ศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุมเข้ม จนกระทั่งเริ่มมีมาตรการผ่อนคลาย ระยะที่ 1 จนถึง ระยะ ที่ 4
ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ได้จัดทำ ไทม์ไลน์ มาตรการผ่อนคลาย โควิด-19 ขึ้น เพื่อสรุปการทำงานของ ศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. นับตั้งแต่การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในวันที่ 25 มีนาคม 2563 จนถึงการประกาศมาตรการผ่อนคลาย ระยะที่ 4 ดังนี้
-
วันที่ 25 มีนาคม 2563
รัฐบาลเริ่มประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
มีการประกาศข้อห้าม ได้แก่ ปิดและห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง, ห้ามเข้าประเทศ (ยกเว้นได้รับอนุญาต), ห้ามกักตุนสินค้า, ห้ามชุมนุม, ห้ามเสนอข่าวเท็จ เกี่ยวกับโควิด-19, ห้ามเดินทางข้ามจังหวัด ยกเว้นจำเป็น
สิ่งที่ดำเนินการในช่วงประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้แก่ การเตรียมมาตรการ สำหรับกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย, เข้มงวดการให้ชาวต่างชาติอยู่ในประเทศ, ตั้งด่านตรวจ จุดสกัด ดูแลการเดินทางข้ามจังหวัด
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการป้องกันโรค เช่น ทำความสะอาด สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง ห้ามชุมนุม, ยังเปิดสถานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น โรงพยาบาล ร้านขายยา ซูเปอร์มาร์เก็ต และ กิจกรรมอื่นๆ เช่น แต่งงาน งานศพ จัดตามความเหมาะสม
-
วันที่ 3 เมษายน 2563
ประกาศเคอร์ฟิว เวลา 22.00 – 04.00 น. ยกเว้นกรณีจำเป็น
-
วันที่ 28 เมษายน 2563
ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ครั้งที่ 1) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 – 31 พฤษภาคม 2563
-
วันที่ 3 พฤษภาคม 2563
วันแรกของการประกาศ มาตรการผ่อนคลาย โควิด-19 ระยะที่ 1 โดยยังคงเคอร์ฟิว เวลา 22.00 – 04.00 น. ใน 2 ด้าน ได้แก่
ด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย การขายอาหาร เครื่องดื่ม ให้ซื้อกลับบ้าน หรือนั่งทานที่ร้าน ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค, ห้างฯ เปิดได้บางส่วน เน้นซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา สินค้าจำเป็น รวมถึง ร้านค้าปลีก ค้าส่ง ขนาดย่อม, ร้านเสริมสวย เปิดได้เฉพาะ สระ ตัด ซอยผม แต่งผม และห้ามรอในร้าน
ด้านการออกกำลังกาย หรือการดูแลสุขภาพ ที่เปิดบริการได้คือ โรงพยาบาล สถานพยาบาลทุกประเภท, สนามกอล์ฟ สนามซ้อม, สนามกีฬากลางแจ้ง, สวนสาธารณะ สนามกีฬา เปิดได้เฉพาะที่โล่ง, ร้านสัตว์เลี้ยง
นอกจากนี้ ได้เพิ่มข้อห้ามในช่วง ผ่อนคลาย ระยะที่ 1 ได้แก่ ห้ามใช้สถานศึกษา เพื่อการเรียนการสอน หรือรวมตัว, ห้ามอากาศยาน ขึ้น ลง, กักตัวผู้เดินทางเข้าประเทศ
-
วันที่ 17 พฤษภาคม 2563
ประกาศผ่อนคลาย ระยะที่ 2 โดยปรับเคอร์ฟิว เป็นเวลา 23.00 – 04.00 น. พร้อมทั้งปิดสนามชนโค สนามกัดปลา หรือสนามอื่นในลักษณะเดียวกัน โดยผ่อนคลายใน 2 ด้านได้แก่
ด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต ได้แก่ ภัตตาคาร ร้านอาหารหรือเครื่องดื่มทั่วไป (ไม่รวมผับ บาร์) แต่ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน, ห้างฯ เปิดได้บางส่วนถึง 20.00 น., ร้านค้า ตลาดค้าปลีก ค้าส่ง เปิดได้, สถานสงเคราะห์เฉพาะพักค้างคืน, กองถ่าย ไม่เกิน 50 คน, ศูนย์ประชุม ห้องประชุมโรงแีม เปิดได้แบบจำกัดจำนวน
ด้านการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพ หรือสันทนาการ ได้แก่ คลินิก หรือสถานเสริมความงาม และร้านทำเล็บ (ห้ามทำบริเวณใบหน้า), ฟิตเนสนอกห้างฯ เปิดได้บางส่วน, พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน สวนพฤกษศาสตร์ สวนดอกไม้ ห้องสมุดสาธารณะ และหอศิลป์
-
วันที่ 26 พฤษภาคม 2563
ประกาศขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ครั้งที่ 2) มีผลตั้งแต่วันที่ 1 – 30 มิถุนายน 2563
-
วันที่ 1 มิถุนายน 2563
ประกาศผ่อนคลาย ระยะที่ 3 โดยปรับเคอร์ฟิวเป็นเวลา 23.00 – 03.00 น., สามารถเดินทางข้ามจังหวัดได้, ผ่อนผันใช้อาคารสถาบันการศึกษา เพื่อจัดการเรียนการสอน สำหรับโรงเรียนประเภทวิชาชีพ ศิลปะและกีฬา หรือเพื่อกิจกรรมระยะสั้น ไม่เกิน 15 วัน
ด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต ได้แก่ ห้างฯ เปิดได้ถึง 21.00 น., ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม ไม่เกิน 20,000 ตร.ม. เปิดได้ถึง 21.00 น., ศูนย์พระเครื่อง, ร้านเสริมสวย ให้บริการรายละไม่เกิน 2 ชม. และไม่นั่งรอในร้าน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน
ด้านการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพ หรือสันทนาการ ได้แก่ สถานเสริมความงาม สัก, สถานบริกา่รสุขภาพ แต่งดอบตัว นวดใบหน้า, สถานที่ออกกำลังกาย ฟิตเนส (งดอบตัว), สนามฝึกซ้อมมวย โรงยิม, สนามกีฬา, โบว์ลิ่ง สเก็ต อื่นๆ, สถาบันสอนลีลาศ, สระน้ำ, โรงภาพยนตร์โรงมหรสพ ไม่เกิน 200 คน, สวนสัตว์
-
วันที่ 15 มิถุนายน 2563
ประกาศยกเลิกเคอร์ฟิว ให้ใช้สถานที่ของสถานศึกษา จัดการเรียนการสอนได้ และ การผ่อนคลายการดำเนินกิจกรรม ประกอบด้วย
ด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต ได้แก่ สามารถจัดประชุม อบรม จัดเลี้ยง การแสดง คอนเสิร์ต โรงภาพยนตร์, ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร แต่ยังยกเว้น ผับ บาร์ คาราโอเกะ, สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานดูแลผู้สูงอายุ หรือสถานสงเคราะห์, ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา, กองถ่ายไม่เกิน 150 คน ผู้ชมไม่เกิน 50 คน
ด้านการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพ หรือสันทนาการ ได้แก่ อบตัว นวด สปา ยกเว้น อาบ อบ นวด, ออกกำลังกายแบบกลุ่ม ในสวนสาธารณะ, สวนน้ำ สนามเด็กเล่น สวนสนุก, สนามกีฬา สถานที่ออกกำลังกาย แข่งขันกีฬาได้ แต่ต้องไม่มีผู้ชมในสยาม, ตู้เกม ในห้างฯ
นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้ขนส่งสาธารณะข้ามเขตจังหวัด และที่สำคัญคือ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด
หลังจาก รัฐบาล ประกาศมาตรการผ่อนปรน ระยะ 4 จึงคาดว่าจะมีมาตรการผ่อนปรน ระยะ 5 ตามมา ตลอดจนนำไปสู่ การยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หลังจากประเทศไทยไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศมาแล้วถึง 3 สัปดาห์ ติดต่อกัน
อ่านข่าวเพิ่มเติม
Add Friend FollowJune 16, 2020 at 03:14PM
https://ift.tt/3e7pHJX
มาตรการผ่อนคลาย โควิด-19 เปิดไทม์ไลน์ จาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สู่ผ่อนปรนระยะ 4 - thebangkokinsight.com
https://ift.tt/3cihWzB
Bagikan Berita Ini
0 Response to "มาตรการผ่อนคลาย โควิด-19 เปิดไทม์ไลน์ จาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สู่ผ่อนปรนระยะ 4 - thebangkokinsight.com"
Post a Comment